วันเสาร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2560

Book Review - ถอดรหัสฆาตกรรม The Broken Window

ถอดรหัสฆาตกรรม The Broken Window เป็นคดีลำดับที่แปด ของ The Lincoln Rhyme Series ในเล่มนี้ ลินคอล์น ไรห์ม และ อมีเลีย ชาชส์ ต้องเผชิญหน้ากับคู่ต่อสู้ที่น่าหวั่นเกรง "ชายที่รู้เรื่องราวทุกอย่าง" หรือ "วายร้าย 522" ผู้ที่มีอาวุธที่ทรงพลังที่สุดในศตวรรษที่ 21 ซึ่งก็คือ ข้อมูล ... การไล่ล่าเป็นไปอย่างดุเดือด แต่ฆาตกรก็ยังเดินเกมนำหน้าก้าวหนึ่งเสมอ การปะทะระหว่างฆาตกรผู้รู้ทุกสิ่ง กับ ลินคอล์น ไรห์ม เขาจะสามารถพลิกสถาณการณ์มาเป็นฝ่ายก้าวนำได้หรือไม่ หรือว่าเขาจะเปลี่ยนจากผู้ล่ากลายเป็นผู้ถูกล่าซะเอง ติดตามความลุ้นระทึกได้ภายในเล่มครับ...

ปล. เล่มนี้มีการอ้างอิงถึงตัวละคร 2 คน ที่เคยปรากฏตัวในเล่มก่อนหน้านี้ ตอนอ่านเจออาจทำให้ งง แต่ก็ไม่ได้กระทบกับเนื้อเรื่องเท่าใดนัก ดังนั้น เล่มนี้ก็ยังอ่านได้รู้เรื่องได้ตามปกติครับ

Broken Window Theory หรือ ทฤษฎีหน้าต่างแตก (ตามชื่อตอน) เป็นทฤษฎีทางอาชญวิทยา ที่ระบุว่า การป้องกันอาชญากรรมเบา ๆ มีส่วนช่วยในการยับยั้งการเกิดของอาชญากรรมที่ร้ายแรง - สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ Link นี้เลยครับ ถือว่าเป็นทฤษฎีที่น่าสนใจมาก

***อาจเป็นการสปอยเนื้อหานะครับ***
อ่านจบแล้วมาคุยกันนิดนึงเนอะ ย้ำอีกครั้งว่าอาจสปอยเนื้อหาในหนังสือครับ ..... ในหนังสือมีการพูดถึง Data Mining ด้วยซึ่งหลังจากที่อ่านจบแล้วน่าจะทำให้คุณรู้สึก(เหมือนกับผม)ว่า Privacy หรือ ความเป็นส่วนตัว นั้นเริ่มหายไปจากชีวิตเราทุกทีเหมือนกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในหนังสือ เพราะข้อมูลต่าง ๆ ของเราถูกรวบรวมผ่านผู้ให้บริการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Google, Facebook หรือเว็บอะไรก็ตามที่คุณเข้าบ่อย ๆ   ถ้าคุณสังเกตดี ๆ จะเห็นว่าเมื่อคุณค้นหาอะไรซักอย่างผ่านทาง Google จะมีโฆษณาเกี่ยวกับสิ่งนั้น ตามติดคุณไปแทบจะทุกที่ไม่ว่าคุณจะเปิดเว็บไหนก็ตาม แน่นอนว่าใน Facebook ก็เช่นกัน เมื่อคุณกด "Like"  หน้า page หรือ post อะไรซักอย่างนึง Facebook ก็จะเรียนรู้และทำความเข้าใจตัวคุณ จากนั้นก็ป้อนโฆษณาที่น่าจะตรงใจคุณเข้ามา ฟังดูดีเพราะเราได้สิ่งที่ต้องการ แต่ในทางกลับกัน เราก็สูญเสียความเป็นส่วนตัวเพราะเศษชิ้นส่วนข้อมูลต่าง ๆ ที่ถูกรวบรวมนั้น แทบจะบอกความเป็นตัวเราได้เลยทีเดียว และคนที่เข้าถึงข้อมูลตรงนี้ได้ก็น่าจะปลอมเป็นตัวเราได้ไม่ยาก หรือสามารถทำลายเราให้ย่อยยับอย่างในหนังสือ ก็ไม่น่าจะยากเกินความสามารถ เพราะข้อมูลที่เราใช้ยืนยันตัวตนอย่าง ชื่อ, วันเกิด, เลขที่บัตรประชาชน, เบอร์โทรศัพท์, E-Mail, หมายเลขบัตรเครดิต, เบอร์บัญชีธนาคาร, หรืออะไรต่าง ๆ เหล่านี้ ก็ไม่น่ายากต่อการค้นหา เพราะข้อมูลพวกนี้คงล่องลอยอยู่ในใยแมงมุงที่ชื่อว่า Internet ส่วนจะถูกดูดและรวบรวมโดยวิธีไหนนั้นก็หาเอาเองละกัน...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น